บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการของครูสกาวรัตน์ ใจวิถี

ชื่อเรื่อง
รายงานผลการใช้หนังสือภาพประกอบแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้ศึกษา
สกาวรัตน์  ใจวิถี

ปีการศึกษา
2554

               
บทคัดย่อ

                การศึกษาในครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือภาพประกอบแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย                  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน                   ด้วยหนังสือภาพประกอบแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือภาพประกอบแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                              ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนพุทธิโศภน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1  จำนวน 179 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนพุทธิโศภน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 จำนวน 35 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบ ด้วย หนังสือภาพประกอบแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านและการเขียนตำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือภาพ ประกอบแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ข้อ  การนำเสนอข้อมูลใช้ตารางประกอบ  คำบรรยาย  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์  ได้แก่ การหาค่าร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การหาประสิทธิภาพ (E1 / E2) และการทดสอบค่าที (t – test)

ผลการศึกษาพบว่า
                   1.  หนังสือภาพประกอบแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้น โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.23 / 85.24  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
                   2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสือภาพประกอบแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
                   3.  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือภาพประกอบแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53  

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

ส่งเสริมให้เกิดนิสัยรักการอ่านกันนะคะ...


      การอ่านเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต การอ่านมาก ๆเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง เป็นการพัฒนาบุคลิกภาพ ประโยชน์ที่ได้จากการอ่านมีมากมายมหาศาล แต่ที่สำคัญคือว่า เรามาช่วยกันส่งเสริมให้เกิดนิสัยรักการอ่านได้อย่างไร  ....

การพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา

                                                         บทคัดย่อ

ชื่อ                           รายงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ภาษาไทย   โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา  สำหรับนักเรียน
                                 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้รายงาน             นางสายตา  ปาลี
                                 โรงเรียนพุทธิโศภน  อำเภอเมืองเชียงใหม่  จังหวัดเชียงใหม่

                  การรายงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและใช้กิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่าน       คิดวิเคราะห์ภาษาไทย  โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5      เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ภาษาไทย  โดยใช้  ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา    กลุ่มประชากรที่ใช้ในการดำเนินงานครั้งนี้ ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2551  โรงเรียนพุทธิโศภน  อำเภอเมืองเชียงใหม่  จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 40 คน     เป็นกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ   โดยเป็นนักเรียนในชั้นเรียนที่ผู้รายงานเป็นครูผู้สอนภาษาไทย   เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน   ประกอบด้วย  1)แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน  คิดวิเคราะห์ภาษาไทย   โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา ด้านการใช้ปริศนาคำทาย สุภาษิต นิทานพื้นบ้าน  เพลงพื้นบ้าน  การละเล่นพื้นบ้าน  และวัฒนธรรมล้านนา  จำนวน 6 ชุดกิจกรรม/หน่วยการเรียนรู้   รวม 33  แผน    2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาไทยด้านการอ่าน    คิดวิเคราะห์    เป็นแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนแบบปรนัยเลือกตอบ   จำนวน  1 ฉบับ  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83  และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ภาษาไทย  โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา
                  การนำกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่าน  คิดวิเคราะห์ภาษาไทย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา ไปใช้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน   คิดวิเคราะห์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2   ภาคเรียนที่ 1     ปีการศึกษา 2552   จำนวน  36  คน เป็นกลุ่มขยายผลการดำเนินงาน(ปีที่สอง) 
                  การนำเสนอข้อมูลกระทำในรูปของคำบรรยายประกอบตาราง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test)   โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC